เครื่องช่วยฟัง ยี่ห้อไหนดี ราคาถูก ราคาแพง รีวิว 10 ยี่ห้อ

รูปภาพปกบทความ เครื่องช่วยฟัง ยี่ห้อไหนดี ราคาถูก ราคาแพง รีวิว 10 ยี่ห้อ

หากคุณกำลังมองหาอุปกรณ์ช่วยฟังไปให้คนที่กำลังมีปัญหาความบกพร่องทางการได้ยินอยู่ล่ะก็ ถ้ายังงั้นก็เข้ามาได้ถูกที่ถูกบทความแล้วละครับ เพราะทางเราได้ไปรวบรวมเครื่องช่วยฟังมาให้รีวิวให้ดูกันถึง 10 ยี่ห้อ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จะมาช่วยขยายเสียงพูดจากคนรอบข้างและเสียงจากสิ่งเเวดล้อมภายนอก ให้ผู้ที่กำลังมีปัญหาได้ยินเสียงได้ชัดขึ้น ดังขึ้น และยังสวมได้ใส่ได้สบายตลอดทั้งวันอีกด้วย แล้วเราจะเลือกซื้อ เครื่องช่วยฟัง ยี่ห้อไหนดี ? ในบทความนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับยี่ห้อที่น่าสนใจกันครับ



ตารางเปรียบเทียบรีวิว เครื่องช่วยฟัง ยี่ห้อไหนดี

ตารางเปรียบเทียบรีวิว เครื่องช่วยฟัง ยี่ห้อไหนดี

สำหรับใครที่ไม่ค่อยมีเวลาอ่าน หรืออยากอ่านเนื้อหากันแบบสั้น ๆ ที่มีการวางเรียงเปรียบเทียบ ทั้งเรื่องของราคา, ชนิดหูฟัง, ระบบเสียงของหูฟัง, ระดับความดังของเสียง, การตัดเสียงรบกวน และการชาร์จแบตเตอรี่ เพื่อช่วยให้ตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ทางผมก็ขอแนะนำให้กดเข้าไปที่ปุ่มสีแดงด้านล่างกันได้เลยครับ



1. Dr.Isla Hearing Amplifier H11

+ "เครื่องช่วยฟัง" 1. Dr.Isla Hearing Amplifier H11

ราคาโดยประมาณ 669 บาท

หากผู้ใหญ่ในบ้านเริ่มมีปัญหาทางการได้ยินอยู่บ่อยครั้ง อยากให้ลองยี่ห้อ Dr.Isla Hearing Amplifier H11 ที่ใช้งานได้จริง มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า ด้วยราคาเพียงหลักร้อยกลาง ๆ ก็สามารถเป็นเจ้าของอุปกรณ์ใหม่เอี่ยม ไม่ต้องไปหาซื้อของมือ 2 มาให้พ่อ-แม่ใช้ แถมยังได้ของคุณภาพสูง ซึ่งช่วยให้ท่านได้ยินเสียงต่าง ๆ ชัดเจนขึ้น อีกทั้งยังสามารถเลือกโหมดลดเสียงรบกวนความถี่สูงหรือความถี่ต่ำได้ตามอาการด้วยครับ

การทำงานก็ด้วยแบตเตอรี่ลิเธียมคุณภาพสูง ชาร์จใหม่ได้ ไม่ต้องคอยเปลี่ยนถ่านบ่อย ๆ ให้สิ้นเปลือง และพอชาร์จเต็มทีหนึ่ง จะอยู่ได้นาน 4-5 วัน (หากใช้ไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง) อีกทั้งไซส์ก็มินิ พกพาง่าย สูง 43 มิลลิเมตร บาง 11.4 มิลลิเมตร น้ำหนักเพียง 8 กรัม ก็ถือว่าค่อนข้างสะดวกดีเลยทีเดียว และแม้ตัวเครื่องจะเล็ก แต่ปุ่มควบคุมใหญ่ใช้งานสะดวก ส่วนวัสดุทุกส่วนเป็นของดีมีคุณภาพสูงเกรดการแพทย์ จึงปลอดภัยและทนทาน อายุการใช้งานยาวนาน ไม่แตกหักเสียหายง่าย ๆ แน่นอนครับ

ชนิดBTE (คล้องหลังหู)
ระบบDigital
ระดับเสียงสูงสุด129±3dB
ตัดเสียงรบกวน
การชาร์จชาร์จ 2 ชม. ใช้งาน 35 ชม.

2. Cofoe ZA-01

ดึงคุณพ่อ-คุณแม่อันเป็นที่รักให้ออกมาจากโลกที่ไร้เสียง ด้วย Cofoe ZA-01 อุปกรณ์ช่วยฟังไร้สายแบบชาร์จได้ ที่จะช่วยคืนรายละเอียดของเสียงที่ต้องโฟกัส พร้อมเทคโนโลยีกรองเสียงสภาพแวดล้อมรอบข้าง อีกทั้งยังตัดเสียงรบกวนได้มากถึง 2 เท่า ส่วนตัวไมโครโฟนก็มีเซ็นเซอร์ความไวสูง พร้อมการขยายทิศทางการรับเสียง เพื่อให้สามารถประมวลผลสัญญาณเสียงที่มาจากมุมต่าง ๆ ที่แตกต่างกันได้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เก็บรายละเอียดของเสียงได้ทุกโมเมนต์ในชีวิตเลยครับ

และกับผู้ใหญ่หลาย ๆ ท่านอาจมีความเขินอายหรือไม่มั่นใจที่จะให้คนอื่น ๆ เห็นว่าใช้เครื่องช่วยฟัง แต่กับตัวนี้สามารถใส่ได้แบบสบายใจเลย เพราะตัวเครื่องมันทั้งเล็กทั้งบาง และยังซ่อนอยู่หลังหูแทบมองไม่เห็น จะเห็นก็แค่ตัวเอียร์บัดเนียน ๆ เหมือนใส่หูฟังฟังเพลง วัยรุ่นไปอีกกก ส่วนด้านฟังก์ชันการใช้งานก็ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับผู้สูงอายุให้ใช้งานได้ง่ายด้วยสวิตช์เพียงปุ่มเดียว ไม่ต้องมีปรับโหมดอะไรให้ยุ่งยากซับซ้อนเหมือนอุปกรณ์ช่วยฟังแบบเก่า ปล่อยให้เครื่องประมวลผลด้วยตัวเองไป ทางนี้มีหน้าที่ใช้งานเท่านั้นพอแล้วครับ

ชนิดBTE (คล้องหลังหู)
ระบบDigital
ระดับเสียงสูงสุดN/A
ตัดเสียงรบกวน
การชาร์จชาร์จ 1 ชม. ใช้งาน 40 ชม.

3. CRONOS รุ่น CICT1

หากใครมีญาติผู้ใหญ่ผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางการได้ยิน แต่ก็แอบขี้อายไม่ชอบใส่เครื่องช่วยฟังอันใหญ่สะดุดตา พาลจะไม่ยอมใช้ไปซะอย่างนั้น แนะนำตัวนี้เลย CRONOS รุ่น CICT1 อุปกรณ์ช่วยฟังตัวเล็กจิ๋วชนิด CIC (completely in the canal) ชนิดใส่ในช่องหูแบบขนาดเล็ก แทบจะไม่สังเกตเห็นด้วยซ้ำว่าใส่อะไรอยู่ ด้วยขนาดที่เล็กเพียง 0.8 x 1.4 เซนติเมตร เทียบเท่าเหรียญ 25 สตางค์ แถมยังดีไซน์ด้านนอกให้เป็นสีเนื้อเนียนไปกับผิว จึงช่วยปกปิดการมองเห็นได้สูงถึง 95% เลยครับ

และแน่นอนว่าด้วยตัวที่เล็กจิ๋ว น้ำหนักจึงเบามาก ๆ เพียง 0.1 กรัมเท่านั้น จึงใส่สบายหูมาก ๆ และรุ่นนี้เป็นระบบดิจิตอลที่สามารถตัดเสียงรบกวนรอบข้างได้ จึงให้เสียงที่เป็นธรรมชาติ ฟังชัด รวมถึงหมุนปรับระดับเสียงได้ ให้เสียงสูงสุดที่ 117 เดซิเบล เท่านั้นยังไม่พอ ยังมาพร้อมจุกยาง 3 ขนาด มีกล่องใส่พกพาสะดวก ปลอดภัยผ่านการรับรองจาก อย. มั่นใจได้ว่าไม่มีอันตราย ออกแบบมาให้สวมใส่ง่าย เลือกได้ 2 สี น้ำเงินและแดง แต่ด้วยความที่ดีงามนี้เอง ก็ทำให้มีราคาที่ค่อนข้างแรงมากก แต่ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องงบ ถือว่าดี คุณภาพตามราคาเลยครับ

ชนิดCIC (ใส่ช่องหูขนาดเล็ก)
ระบบDigital
ระดับเสียงสูงสุด117dB
ตัดเสียงรบกวน
การชาร์จN/A


4. BRITZGO VHP-1204

4. BRITZGO VHP-1204

ราคาโดยประมาณ 1,000 บาท

อุปกรณ์ช่วยฟังประสิทธิภาพสูง ใช้งานง่าย ใส่ได้ทั้งหูซ้ายและขวา ถนัดข้างไหนแขวนไว้หลังหูข้างนั้นได้เลย ขนาดก็เล็ก บางเพียง 11.4 มิลลิเมตร สูง 43 มิลลิเมตร น้ำหนักเบา 8 กรัม แต่ปุ่มใหญ่ให้ผู้สูงวัยใช้งานได้ถนัด โดยแบ่งเป็นแป้นหมุนปรับระดับเสียงดัง-เบาได้ กับสวิตช์เปิด-ปิดที่ใช้เปลี่ยนโหมดตัดเสียงรบกวน โดยโหมด L จะเหมาะกับสภาพแวดล้อมที่เงียบ มีเสียงรบกวนน้อยหรือไม่มีเลย กับโหมด H ที่เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง หรือก็คือมีเสียงรบกวนเยอะ ๆ นั่นเองครับ

ส่วนเรื่องแบต เวลาหมดก็ชาร์จใหม่ได้ มีที่ชาร์จมาให้ด้วยเสร็จสรรพ ชาร์จเต็ม 1 ครั้ง ใช้ได้นานประมาณ 40 ชั่วโมง ตีคร่าว ๆ ว่าถ้าวันหนึ่งใช้ตกประมาณ 8 ชั่วโมง ก็อยู่ยาว ๆ ไปเลย 5 วัน ส่วนวัสดุที่นำมาใช้ก็เป็นเกรดการแพทย์ทั้งหมด โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวหูเป็น TPE (Thermoplastic Elastomer) เทอร์โมพลาสติกที่มีความยืดหยุ่นคล้ายยาง หรือที่เราเรียกว่าซิลิโคน ให้สัมผัสที่ละเอียดอ่อน พร้อมปกป้องผิวใบหูไม่ให้ระคายเคืองหรือเจ็บจากการสวมใส่เป็นเวลานานครับ

ชนิดBTE (คล้องหลังหู)
ระบบDigital
ระดับเสียงสูงสุดN/A
ตัดเสียงรบกวน
เวลาชาร์จชาร์จ 2 ชม. ใช้งาน 40 ชม.

5. Lifebox L-HA02

Lifebox L-HA02 อุปกรณ์ช่วยฟัง แบบชาร์จได้ พร้อมไฟ LED สีเขียวแสดงสถานะการชาร์จ เมื่อชาร์จเต็มแสงไฟจะดับลง และสามารถใช้งานต่อเนื่องได้นานประมาณ 80 ชั่วโมง !! คือนานมากจริง ๆ อีกทั้งยังมีอะแดปเตอร์พร้อมสาย USB มาให้ มีกล่องเก็บรักษากับแปรงทำความสะอาดมาให้ด้วย เสร็จสรรพ ไม่ต้องไปหาอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ให้เหนื่อยเลยครับ

โดยตัวเครื่องก็มีขนาด 14 x 40 x 45 มิลลิเมตร กับน้ำหนัก 7 กรัม คือเบามาก และยังสามารถปรับระดับเสียงกับลดเสียงรบกวนได้อย่างละ 4 ระดับ อีกทั้งปุ่มควบคุมก็แยกกันจึงสะดวกในการใช้งาน นอกจากนี้ จะรูหูไซส์ไหนก็ใช้ได้ เพราะให้จุกหูฟังมาถึง 5 ชิ้น 5 ขนาด ซึ่งสามารถถอดเปลี่ยนจุกหูฟังได้เองอย่างง่าย ๆ บริเวณปลายท่อเครื่องช่วยฟัง เพียงแค่ต้องระวังจุกฉีกขาด ต้องทำอย่างเบามือนะครับ

ชนิดBTE (คล้องหลังหู) 
ระบบN/A
ระดับเสียงสูงสุด130dB
ตัดเสียงรบกวน
การชาร์จ ชาร์จ 4-6 ชม. ใช้งาน 80 ชม.

6. TJZJY

6. TJZJY

ราคาโดยประมาณ 361 บาท

โดยส่วนมากเครื่องช่วยฟังมักจะขายกันเป็นตัวเดี่ยว ๆ ใส่ได้ข้างเดียว เลือกเอาว่าอยากจะหูซ้ายหรือหูขวา ถ้าอยากจะได้ยินทั้ง 2 ข้าง ก็ต้องซื้อมัน 2 เครื่อง เปลืองไปอีก แต่กับ TJZJY ไม่ต้องเลือกข้าง และไม่ต้องซื้อเพิ่ม จ่ายเพียงหลักร้อยกลาง ๆ แล้วจบ ได้มา 2 เครื่อง ไว้ใส่ทั้ง 2 ข้าง หรือจะใช้ทีละเครื่องแล้วเก็บอีกเครื่องไว้สำรองก็ไม่ว่ากัน เท่านั้นยังไม่พอ ยังมาพร้อมแท่นชาร์จที่สามารถเสียบชาร์จแบบ USB ได้ทันที หรือจะเสียบเข้ากับอะแดปเตอร์ที่ให้มาด้วยแล้วชาร์จกับไฟบ้านก็ได้เหมือนกันครับ

การใช้งานก็สามารถช่วยขยายเสียงได้มากถึง 30 เท่า โดยปรับได้ 4 ระดับ พร้อมจุกหูฟังซิลิโคน 4 ขนาด ให้เลือกใช้ตามไซส์รูหู เพื่อความกระชับ ไม่หลุดง่าย สวมใส่ได้สบายมากแม้เป็นเวลานาน ๆ อีกทั้งยังผลิตจากวัสดุคุณภาพสูง ปลอดภัย ไม่ทำร้ายช่องหู และเพื่อสุขอนามัยก็ยังสามารถใช้แปรงที่ให้มาช่วยทำความสะอาดพวกสิ่งสกปรกหรือขี้หูได้อีกด้วย แต่อาจต้องชาร์จบ่อยกว่าของยี่ห้ออื่น ๆ เพราะเจ้าตัวนี้อยู่ได้ประมาณ 8 – 10 ชั่วโมงต่อการชาร์จเต็ม 1 ครั้ง ก็ถือเสียว่ามีของต้องชาร์จวันต่อวันเหมือนโทรศัพท์มือถือเพิ่มมาอีกอย่างหนึ่งก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรเท่าไรนะครับ

ชนิดITE (ใส่ช่องหูขนาดใหญ่)
ระบบN/A
ระดับเสียงสูงสุดN/A
ตัดเสียงรบกวนN/A
การชาร์จ แท่นชาร์จหรือไฟบ้าน ใช้งาน 8-10 ชม.


7. Xingma XM-999E

อาจจะไม่ใช่รุ่นที่ราคาถูกที่สุด แต่ Xingma XM-999E ก็จัดว่าอยู่ในรุ่นราคาประหยัด ซึ่งบริษัทผู้ผลิตก็มีคุณภาพที่ไว้ใจได้ โดยเป็นเครื่องช่วยฟังแบบกล่องขนาดกะทัดรัด มีหูฟัง 1 ข้าง ตัววัสดุผลิตจากพลาสติก ABS ที่มีความแข็งแรงได้มาตรฐาน มาพร้อมกล่องเก็บกำมะหยี่สวยงาม รวมถึงมีจุกยางซิลิโคนให้เลือกใช้ 3 ขนาด เพื่อให้เลือกใส่ได้พอดีกับหูของผู้ใช้ ซึ่งแนะนำว่าควรเลือกขนาดที่พอดีหรือใหญ่กว่านิดหน่อยจะได้แน่นกระชับ ไม่หลุดง่าย รวมทั้งเป็นการป้องกันเสียงรบกวนภายนอกได้เพิ่มเติมด้วยครับ

อีกทั้งรุ่นนี้จะเป็นระบบ Analog ที่มีปุ่มเลื่อนปรับระดับเสียง โดยให้ค่อย ๆ ปรับเพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้ดังจนเกินไป ช่องต่อสายหูฟังก็เป็นแบบ 2 ขา ส่วนของเสียงสามารถเลือกย่านเสียงต่ำ เสียงกลาง หรือเสียงสูงได้ ซึ่งก็ให้ความดังเสียงสูงสุดได้ถึง 133 บวกลบ 4 เดซิเบล แต่การใช้งานจะใส่ถ่านขนาด AA 1 ก้อน ไม่สะดวกเท่าพวกที่ชาร์จได้ แต่ดูจากรีวิวและเรตติ้งแล้วจัดว่าดีทีเดียว เสียงดังฟังชัด ใช้งานได้ดี แต่ไม่มีระบบตัดเสียงรอบข้าง ซึ่งเป็นปกติของเครื่องช่วยฟังแบบอะนาล็อกอยู่แล้วครับ

ชนิดPocket Type (กล่อง)
ระบบAnalog
ระดับเสียงสูงสุด133±4dB 
ตัดเสียงรบกวน
การชาร์จถ่าน AA x 1

8. beurer HA 20

ยี่ห้อนี้คงจะคุ้นเคยกันดี สำหรับเครื่องไม้เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์จากเยอรมนี อย่าง beurer รุ่น HA20 ชนิด BTE หรือแบบคล้องหลังหู ที่ออกแบบตามหลัก Ergonomics (การยศาสตร์) จึงช่วยให้ใส่สบายไม่เจ็บหู สีก็นู้ด ไม่ฉูดฉาด จึงไม่เป็นจุดสนใจ รวมถึงมีจุกยางมาให้ 3 ไซส์ เพื่อให้เหมาะกับขนาดหูของผู้ใช้ และมาพร้อมกับกล่องเก็บอุปกรณ์อย่างดี ก็ช่วยพกพาได้สะดวกครับ

และรุ่นนี้ก็เป็นแบบใส่ถ่านชนิด LR754 หรือถ่าน PR48 ที่ใช้งานต่อเนื่องได้นาน 20 ชั่วโมง อีกทั้งยังสามารถปรับระดับเสียงได้ 4 ระดับ และให้ความดังสูงสุดที่ 128 เดซิเบล ส่วนราคาก็กลาง ๆ ไม่ถูกไม่แพงมาก แต่แบรนด์เชื่อถือได้และมีมาตรฐาน งานก็มีรับประกัน มีศูนย์บริการ หากเทียบในสเปคเดียวกันอาจดูราคาสูงกว่า แต่ถือว่าซื้อความสบายใจก็คุ้มค่าดีครับ

ชนิดBTE (คล้องหลังหู)
ระบบAnalog
ระดับเสียงสูงสุด128dB
ตัดเสียงรบกวน
การชาร์จถ่าน LR754 x 1 หรือ PR48 ใช้งาน 20 ชม.

9. Lantex รุ่น JH-113A

อีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับเครื่องช่วยฟังระบบอนาล็อก ตัวนี้ Lantex รุ่น JH-113A ที่คุณสมบัติต่าง ๆ ค่อนข้างใกล้เคียงกับรุ่นบน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของเครื่อง เป็นแบบ BTE ใช้คล้องหลังหู ที่ตัวเครื่องมีปุ่มเปิด-ปิด และปุ่มเลื่อนปรับระดับเสียงดัง-เบา รวมถึงปรับได้ 4 ระดับโดยสามารถให้ความดังเสียงได้สูงสุดถึง 130 เดซิเบลครับ

และด้วยความที่เป็นระบบอนาล็อก เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถตัดเสียงรบกวนได้เท่าระบบดิจิตอล ซึ่งหากดูตามรีวิวแล้วจะเห็นว่า มีคนที่บอกว่าใช้แล้วมีเสียงซ่ารบกวน แต่ก็ขยายเสียงได้ดังชัดดี ซึ่งรีวิวเสียงส่วนใหญ่ก็พอใจกับคุณภาพที่ได้ ไม่พบปัญหาอะไรมากนัก นอกจากนี้ตัวเครื่องจะใส่ถ่าน A675 จำนวน 1 ก้อน มาพร้อมกล่องเก็บให้อย่างดี และจุกยางอีก 3 ขนาด ก็เรียกว่าอุปกรณ์ครบครันครับ

ชนิดBTE (คล้องหลังหู)
ระบบAnalog
ระดับเสียงสูงสุด130dB
ตัดเสียงรบกวน
การชาร์จถ่าน A675 x 1

10. JECPP F-18

แม้ว่าเดี๋ยวนี้จะมีเครื่องช่วยฟังรุ่นใหม่ ๆ ที่ขนาดเล็กจิ๋ว ใส่แล้วไม่ต่างจากหูฟังบลูทูททั่วไป แต่เชื่อว่ายังมีหลายคนที่คุ้นชินกับเครื่องช่วยฟังแบบเดิม ๆ อย่างแบบกล่องพกพารุ่นนี้ JECPP F-18 ที่อาจจะไม่ได้ใช้สะดวกมาก หรือคุณภาพดีเท่าของใหม่ ๆ แต่ก็เป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับคนที่ใช้มาจนเคยชินแล้ว รวมทั้งราคายังประหยัดกว่าด้วยครับ

โดยตัวเครื่องเป็นระบบอะนาล็อก ที่ให้ความดังสูงสุดที่ 129±4 เดซิเบล แบตเตอรี่ก็ใส่ถ่าน AA 1 ก้อน และปรับระดับความดังของเสียงได้มากถึง 7 ระดับ อีกทั้งยังมีตัวช่วยลดสัญญาณเสียงความถี่ต่ำ แม้จะไม่ได้ตัดเสียงรบกวนรอบข้างได้ แต่ก็ช่วยให้เสียงชัดขึ้น นอกจากนี้ ก็มาพร้อมกล่องสำหรับเก็บอุปกรณ์มาให้ และจุกยางอีก 3 ขนาดให้เลือกใช้ตามขนาดรูหู ส่วนยอดขายดี รีวิวก็โอเค สินค้าได้มาตรฐานตามราคา เหมาะสำหรับคนที่อยากประหยัดงบกันเลยครับ

ชนิดPocket Type (กล่อง)
ระบบAnalog
ระดับเสียงสูงสุด129±4dB
ตัดเสียงรบกวน
การชาร์จถ่าน AA x 1

วิธีการดูแลรักษาเครื่องช่วยฟังแบบง่าย ๆ

วิธีการดูแลรักษาเครื่องช่วยฟังแบบง่าย ๆ
  • ใช้ผ้าแห้งหรือผ้าสะอาด เช็ดทำความสะอาด คราบเหงื่อ คราบฝุ่น ของตัวอุปกรณืหูฟัง *ห้ามใช้น้ำยาทำความสะอาดทุกชนิด
  • ใช้แปรงเล็กปัดทำความสะอาดขี้หู บริเวณตัวจุกหูฟัง
  • ควรเปลี่ยนแผ่นกรองขี้หูและจุกซิลิโคน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
  • เมื่อไม่ใช้งานควรเปิดฝา ถอดถ่านออก เก็บเครื่องช่วยฟังไว้ในกล่องทุกครั้งและเก็บในที่แห้งหลังใช้งานเสร็จครับ

อ่านกันมาถึงตรงนี้ คงจะได้คำตอบสำหรับ เครื่องช่วยฟัง ยี่ห้อไหนดี กันแล้วสินะครับ โดยแต่ล่ะรุ่นก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราคา ระบบเสียง การตัดเสียงรบกวน การชาร์จ รวมไปถึงวัสดุที่ใช้ในการผลิต แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะมีปัญหาบกพร่องทางการได้ยิน ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจและวินิจฉัยระบบทางการได้ยินเสียก่อนว่าจำเป็นต้องใส่อุปกรณ์ช่วยหรือไม่ สุดท้ายนี้ก็ขอให้ได้รุ่นที่ถูกใจ ตอบโจทย์ และตรงตามงบ ไปใช้งานกันนะครับ


Leave a Comment