+ “เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว” ยี่ห้อไหนดี 2023 รวมมาแล้ว รีวิว 10 ยี่ห้อ +

+ "เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว" ยี่ห้อไหนดี 2023 รวมมาแล้ว รีวิว 10 ยี่ห้อ +

กำลังมองหาและอยากซื้อ “เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว” ยี่ห้อไหนดี กันอยู่ใช่ไหมล่ะครับ ?? ก็คลิกเข้ามาได้ถูกที่ถูกบทความแล้ว เพราะที่นี่ ทางผมได้ไปรวบรวมเครื่องยี่ห้อที่น่าสนใจ ยี่ห้อที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และมีความถูกต้องแม่นยำสูงในการวัดค่าออกซิเจน รวมถึงมีราคาหลากหลายตั้งแต่ถูกไปจนถึงแพง มาให้ดูกันถึง 10 ยี่ห้อ 10 เครื่องกันเลยทีเดียว และบอกเลยว่าถ้าได้อ่านเนื้อหารีวิวกันทั้งหมดล่ะก็ จะได้ไอเดีย หรืออยากซื้อ ไม่เครื่องใดก็เครื่องหนึ่งกันอย่างแน่นอนครับ



เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ใช้ยังไง ?

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ใช้ยังไง ?

หากใครรู้วิธีการใช้งานเครื่องนี้กันดีอยู่แล้ว ก็ข้ามผ่านหัวข้อนี้ไปได้เลยนะครับ แต่ถ้าอยากจะอ่านสักหน่อยล่ะก็ ทางผมขอแนะนำให้เข้าไปอ่านเนื้อหาได้ที่ เว็บไซต์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้เลยครับ เนื้อหาครบถ้วน สรุปเข้าใจง่ายกันอย่างแน่นอน ส่วนจะซื้อเครื่องยี่ห้อไหนดีนั้น ผมก็ขอแนะนำให้ไปอ่านเนื้อหาด้านล่างต่อกันเลยครับ


ตารางเปรียบเทียบรีวิว เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ยี่ห้อไหนดี

ตารางเปรียบเทียบรีวิว เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ยี่ห้อไหนดี

เผื่อใครที่อยากจะเห็นเจ้าเครื่องวัดออกซิเจนที่นิ้วแบบพร้อม ๆ กัน รวมถึงสามารถเลื่อนตารางไปมาซ้ายขวา เพื่อทำการเปรียบเทียบรายละเอียด,​ ฟังกชัน, ดีไซน์, การใช้งาน รวมถึงราคากันได้แบบง่าย ๆ ทางผมก็อยากให้กดที่ปุ่มด้านล่าง เพื่อเข้าไปดูตารางเปรียบเทียบกันได้เลยครับ



1. Rycom รุ่น P-01

เล็ก เบา พกพาสะดวก ใช้งานง่ายด้วยปุ่มเดียว ถือเป็นคุณสมบัติหลักที่สำคัญในการเป็นเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วที่ดี ซึ่งทั้งหมดนี้มีอยู่ใน Rycom P-01 และที่สำคัญ เจ้าเครื่องนี้ก็ยังสามารถทำงานได้เป็นอย่างดี แม้จะมีค่าตัวไม่ถึง 300 บาท แต่ผลที่ได้ก็เที่ยงตรงแม่นยำ เนื่องจากมีระบบป้องกันการสั่นสะเทือนขณะวัด ซึ่งความแม่นยำในการวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในฮีโมโกลบินที่เม็ดเลือดแดง จะอยู่ที่บวก-ลบไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเองครับ

อีกทั้งยังสามารถวัดระดับออกซิเจนในเลือดได้ตั้งแต่ 70 – 99 เปอร์เซ็นต์ นั่นหมายความว่า หากเกิดสภาวะไม่ปกติก็สามารถรู้ได้ (ค่าปกติจะอยู่ที่ 96 – 100 เปอร์เซ็นต์) และแน่นอนว่าต้องวัดค่าชีพจรได้ด้วย ซึ่งก็สามารถวัดได้ตั้งแต่ 30 – 240 ครั้ง/นาที ค่าความแม่นยำบวก-ลบไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ ก็ค่อนข้างแม่นยำมาก ส่วนคุณสมบัติอื่น ๆ ก็มีระบบประหยัดพลังงาน โดยจะปิดเครื่องอัตโนมัติเมื่อไม่มีการใช้งานใน 8 วินาที มีไฟแสดงสถานะแบตเตอรี่ เมื่อหมดก็แค่เปลี่ยนใหม่ใช้อัลคาไลน์ AAA เพียง 2 ก้อนครับ

ขนาด3.1 x  5.7 x 3.2 cm
น้ำหนัก50 g (รวมแบต)
ค่าความแม่นยำ± 2%
ช่วงการวัดค่าออกซิเจนในเลือด70-99%
แบตเตอรี่AAA x 2
ค่าอื่น ๆ ที่วัดได้ชีพจร

2. ALLWELL รุ่น JPD-500D

JPD-500D เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว จาก ALLWELL รุ่นนี้ ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายทั้งในหน่วยงานทางการแพทย์และในโรงพยาบาล ด้วยคุณภาพระดับสูง เที่ยงตรง แม่นยำ สามารถวัดระดับออกซิเจนในเลือด (SpO2) โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนเพียงบวก-ลบ 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และยังมีการนำไปทดสอบร่วมกับเครื่องมอนิเตอร์ในโรงพยาบาล ผลปรากฎว่าวัดค่าได้เท่ากันเป๊ะ สิ่งนี้ยืนยันได้ถึงประสิทธิภาพสมกับที่ได้รับมาตรฐานความปลอดภัยกฎหมายสหภาพยุโรป และ ISO 13485 คุณภาพอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ทั้งยังได้รับอนุญาตจำหน่ายจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอย่างถูกต้องด้วยครับ

นอกจากนี้ ยังสามารถวัดอัตราการเต้นของหัวใจ หรือ Pulse Rate (PR) และค่าการไหลเวียนของเลือด หรือ Perfusion Index (PI) ได้ โดยทั้งหมดจะแสดงผลพร้อมกันบนหน้าจอ OLED ขนาดใหญ่ 2.4 x 1.2 เซนติเมตร มีรูปแบบการแสดงผลให้เลือกมากถึง 6 แบบ พร้อมความสว่างที่สามารถปรับได้ถึง 5 ระดับ ทั้งนี้หากระดับออกซิเจนในเลือดและอัตราชีพจรมีความผิดปกติ ตัวเครื่องก็จะมีเสียงแจ้งเตือนด้วย ส่วนในเซ็ตก็มีอุปกรณ์มาครบชุด รวมถึงกระเป๋าใส่ตัวเครื่องและสายคล้องคอให้สะดวกพกพาไว้คอยเช็คได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการเลยครับ

ขนาดN/A
น้ำหนักN/A
ค่าความแม่นยำ± 2%
ช่วงการวัดค่าออกซิเจนในเลือดN/A
แบตเตอรี่AAA x 2
ค่าอื่น ๆ ที่วัดได้ชีพจร, การไหลเวียนเลือด

3. Yonker รุ่น YK-81C

Fingertip Pulse Oximeter YK-81C เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วจาก Yonker แบรนด์จีนที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอนุญาตให้นำเข้ามาขายในประเทศไทยได้อย่างถูกกฎหมาย ออกแบบมาสำหรับการใช้งานตามบ้าน คลินิก ไปจนถึงโรงพยาบาล สามารถวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (SpO2) ได้ทั้งแบบที่แสดงผลเป็นตัวเลขเปอร์เซ็นต์และรูปแบบภาพคลื่น (SpO2 wave) กับอัตราการเต้นของหัวใจ (PR) ที่แสดงผลเป็นตัวเลขจำนวนครั้ง/นาที (BPM) พร้อมแถบแสดงผลแบบกราฟด้วยครับ

ส่วนหน้าจอ OLED ก็มีขนาดใหญ่ 0.96 นิ้ว หมุนแสดงผลได้ทั้ง 4 ทิศทาง และมากถึง 6 รูปแบบ สามารถวัดระดับออกซิเจนในเลือดได้ตั้งแต่ 70 – 99 เปอร์เซ็นต์ ระดับความแม่นยำสูง 80 – 99 เปอร์เซ็นต์ หรือบวก-ลบไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการวัดค่าชีพจรสามารถวัดได้ตั้งแต่ 30 – 240 ครั้ง/นาที ค่าความแม่นยำบวก-ลบไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ หรือแค่เท่ากับ 1 ครั้ง/นาที เท่านั้น ใช้งานง่ายเพียงสอดนิ้วเข้าไปแล้วกดปุ่มใช้งาน ไม่เกิน 10 วินาที ก็เรียบร้อยครับ

ขนาด5.8 x 3.5 x 3 cm
น้ำหนัก32 g
ค่าความแม่นยำ± 2%
ช่วงการวัดค่าออกซิเจนในเลือด70 – 99%
แบตเตอรี่AAA x 2
ค่าอื่น ๆ ที่วัดได้ชีพจร


4. Commy รุ่น OX500

2 สิ่งที่เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วทุกเครื่องต้องทำได้ก็คือ ตรวจวัดออกซิเจนในเลือด หรือที่เรียกว่า SpO2 กับอีกอย่างหนึ่งก็คือ ตรวจวัดชีพจร ที่เรียกว่า PR แต่จะมีเป็นบางรุ่นเท่านั้นที่สามารถวัดค่า PI (Perfusion Index) ค่าการไหลเวียนของเลือดได้ ซึ่ง OX500 เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วจาก commy รุ่นนี้ทำได้ บอกเลยว่าการมีเจ้า PI ช่วยให้สามารถมั่นใจในผลของ SpO2 ได้เลยนะ เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบความแม่นยำของค่าที่วัดได้ในขณะนั้น หากค่า PI สูง ก็จะเชื่อถือได้มาก เพราะสัญญาณชีพจรแรง แต่หากค่า PI ต่ำ ค่า SpO2 ที่ได้อาจไม่ใช่ค่าจริงครับ

ทั้งยังมั่นใจได้ในคุณภาพ เพราะได้การรับรองมาตรฐานจากองค์การอาหารและยา มีการรับประกันให้ 1 ปี แถมอายุการใช้งานยังนานตั้ง 5 ปีเลยทีเดียวสำหรับราคาไม่ถึงครึ่งพันแบบนี้คุ้มค่ามาก ขนาดก็เล็ก น้ำหนักเบา พกพาสะดวก 6 x 3.05 x 3.25 เซนติเมตร กับ 35 กรัม แถมยังมีสายคล้องมือมาให้พร้อมอีก 1 เส้น หน้าจอแสดงผลดิจิตอล 4 สี ขนาดใหญ่ 0.96 นิ้ว สีสด ภาพคมชัด สว่างในที่มืด อ่านค่าง่าย หมุนได้อัตโนมัติ ประมวลผลไวภายใน 10 วินาที และใช้ถ่าน AAA เพียงแค่ 2 ก้อน ก็มีระยะเวลาการใช้งานได้นานไม่ต่ำกว่า 20 ชั่วโมงแล้วล่ะครับ

ขนาด6 x 3.05 x 3.25 cm
น้ำหนัก35 g
ค่าความแม่นยำ± 2%
ช่วงการวัดค่าออกซิเจนในเลือด70 – 100%
แบตเตอรี่AAA x 2
ค่าอื่น ๆ ที่วัดได้ชีพจร, การไหลเวียนเลือด

5. Beurer รุ่น PO-30

beurer PO 30 pulse oximeter เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วแบบ 2-in-1 สามารถวัดปริมาณออกซิเจนในเลือด (SpO2) และแสดงอัตราการเต้นของหัวใจ (PRbpm) ได้ มาพร้อมด้วยจอสี แสดงผลได้ 4 รูปแบบ ปรับความสว่างได้ หมุนได้อัตโนมัติ ตัวเครื่องเล็กกะทัดรัด 6.1 x 3.6 x 3.2 เซนติเมตร น้ำหนักเบาเพียง 58 กรัม พกพาสะดวกด้วยสายคล้องพร้อมกระเป๋าใส่ตัวเครื่องที่ให้มาในเซ็ตครับ

ส่วนการใช้งาน ก็เพียงแค่ใส่ถ่าน AAA จำนวน 2 ก้อน หากหมดก็รู้ได้ทันทีเพราะมีตัวบ่งชี้ระดับแบตเตอรี่ที่เหลืออยู่ และยังมีการรับประกันที่นานถึง 5 ปี ก็สมกับที่เป็นสินค้าในกลุ่มเครื่องมือแพทย์มาตรฐานเยอรมัน แต่พอเป็นของเมืองนอก ทำให้ราคาจึงสูงลิ่วกว่ายี่ห้อทั่ว ๆ ไปในบ้านเรา แต่ก็มั่นใจได้มากกว่าในมาตรฐานการผลิต ทนทาน คุณภาพสูง ถือว่าจ่ายค่าความไว้วางใจ ไม่มีคำว่าแพงจริงไหมล่ะครับ

ขนาด6.1 x 3.6 x 3.2 cm
น้ำหนัก5ึ8 g (รวมแบต)
ค่าความแม่นยำN/A
ช่วงการวัดค่าออกซิเจนในเลือดN/A
แบตเตอรี่AAA x 2
ค่าอื่น ๆ ที่วัดได้ชีพจร

6. JUMPER รุ่น JPD-500G (LED)

ใครมองหาเครื่องวัดออกซิเจนที่หน้าตาไม่เป็นเครื่องมือทางการแพทย์จนเกินไป ยี่ห้อนี้ก็จัดว่าเก๋ เพราะดีไซน์มีความเรียบหรูดูมินิมอล สำหรับ JUMPER รุ่น JPD-500G ที่มีหน้าจอ LED จอเรียบแสดงผลตัวใหญ่ดูง่ายชัดเจน สามารถปรับความสว่างหน้าจอได้ ฟังก์ชันก็เพียบพร้อม วัดได้ทั้งค่าออกซิเจนในเลือด, อัตราการเต้นของหัวใจ และค่าการไหลเวียนเลือด โดยมีช่วงการวัดออกซิเจนที่ 70 – 99% และมีค่าความแม่นยำ ± 2 เปอร์เซ็นต์ เรียกว่าตรงมาตรฐานทั่วไปเลยครับ

ส่วนตัวเครื่องก็มีระบบปิดอัตโนมัติเมื่อไม่ใช้งานใน 10 วินาที ไม่ต้องห่วงว่าจะเปลืองแบต และมีสัญญาณเตือนเมื่อแบตใกล้หมด รวมทั้งมีเสียงเตือนเมื่อวัดแล้วค่าออกซิเจนและชีพจรสูงเกินปกติให้ด้วย นอกจากนี้ ยังสามารถเชื่อมต่อบลูทูทเพื่อใช้งานแอป JUMPER HEALTH ช่วยบันทึกค่าต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสุขภาพส่วนตัวได้อีก ส่วนที่ใช้วัดก็มีการหุ้มซิลิโคนอย่างดี มีความนุ่มไม่แข็งไม่บีบนิ้วแน่นอนครับ

ขนาด5.82 × 3.22 × 3.2 cm
น้ำหนัก51.5 g
ค่าความแม่นยำ± 2%
ช่วงการวัดค่าออกซิเจนในเลือด70 – 99%
แบตเตอรี่AAA x 2
ค่าอื่น ๆ ที่วัดได้ชีพจร, การไหลเวียนเลือด


7. UNiGO รุ่น C101A3

สอดปุ๊บวัดปั๊บ เครื่องวัดออกซิเจน UNiGO รุ่น C101A3 ตัวนี้ วัดได้ทั้งค่าออกซิเจนในเลือด และวัดชีพจร หรืออัตราการเต้นของหัวใจก็ได้ แค่สอดนิ้วเข้าไป ตัวเครื่องก็จะทำการวัดอัตโนมัติเลยทุก ๆ 5 วินาที ส่วนใครที่คิดว่าจะเปลืองไฟเปลืองแบตก็ไม่ต้องห่วง เพราะเมื่อไม่มีสัญญาณภายใน 8 วินาที เครื่องจะปิดให้เองอัตโนมัติ และยังเปิด-ปิดเครื่องด้วยปุ่มเดียว ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยากครับ

ส่วนของหน้าจอนั้นเป็น OLED สีสดแจ่มชัด แถมดูง่ายไม่ต้องหมุนมือหมุนแขนให้วุ่นวาย เพราะหน้าจอหมุนได้ 4 ทิศทาง ขยับมือไปไหนก็หมุนตามให้เอง ในเซ็ตมีสายคล้องมือมาให้พร้อม ไม่ต้องกลัวทำตกหล่นเสียหาย ขนาดก็กะทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาง่าย จะใช้วัดเวลาไปออกกำลังกายเล่นกีฬาเพื่อเช็คการเต้นของหัวใจก็สะดวก หรือเก็บไว้เป็นไอเทมจำเป็นประจำบ้านก็ยิ่งดีครับ

ขนาด5.8 × 3.6 × 3.3 cm
น้ำหนักN/A
ค่าความแม่นยำN/A
ช่วงการวัดค่าออกซิเจนในเลือด70 – 99%
แบตเตอรี่AAA x 2
ค่าอื่น ๆ ที่วัดได้ชีพจร

8. SAFA รุ่น P-04

ถูกและดีมีตรงนี้แล้วหนึ่ง กับเครื่องวัดออกซิเจนจาก SAFA รุ่น P-04 ซึ่งแม้ว่าจะราคาประหยัด แต่รับรองได้ในคุณภาพผ่านมาตรฐาน อย.เรียบร้อย ไม่ต้องห่วงเรื่องความปลอดภัยและแม่นยำ ซึ่งเครื่องนี้นอกจากวัดค่าออกซิเจนในเลือดแล้ว ก็ยังวัดชีพจรได้อีกด้วย สามารถตรวจวัดผลได้รวดเร็วภายใน 10 วินาที แค่สอดนิ้วเข้าไปแป๊บเดียวก็รู้ผลทันทีครับ

หน้าจอ OLED แสดงผลแบบ 2 สี ตัวเลขขนาดใหญ่เห็นชัดอ่านง่าย ใช้แบตขนาด 3A จำนวน 2 ก้อน ประหยัดพลังงานด้วยการปิดอัตโนมัติเมื่อไม่มีการใช้งาน และการที่ราคาจับต้องได้ไม่แพง ยอดขายเลยสูงพอสมควร ซึ่งคะแนนรีวิวก็ค่อนข้างดี ใช้งานได้ตามมาตรฐาน ในเมื่อเป็นของที่ยุคนี้ทุกคนต้องมีติดบ้านกันแล้ว ราคานี้ถือว่าน่าสนใจมาก ใครยังไม่มีควรซื้อไว้สักเครื่องเลยครับ

ขนาด6.2 × 3.6 × 3.3 cm
น้ำหนักN/A
ค่าความแม่นยำN/A
ช่วงการวัดค่าออกซิเจนในเลือดN/A
แบตเตอรี่AAA x 2
ค่าอื่น ๆ ที่วัดได้ชีพจร

9. Bluedot รุ่น B-PO011

มาดูเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วยี่ห้อ Blue Dot รุ่น B-PO011 ที่ดีไซน์ภายนอกก็จะมีรูปร่างเหมือน ๆ กับเครื่องยี่ห้ออื่น ๆ ตามมาตรฐานปกติ แต่ใช้สีขาวสะอาดตา ทำให้มีความเรียบหรูดูดี หน้าจอก็ 2 สี ช่วยให้อ่านง่ายและแจ่มชัดกว่าสีเดียว สามารถวัดได้ทั้งค่าออกซิเจนในเลือด SpO2, วัดชีพจรหรืออัตราการเต้นของหัวใจ PR และค่าการไหลเวียนเลือด PI เวลาวัดแล้วค่าสูงหรือต่ำผิดปกติ ก็จะมีเสียงเตือนแจ้งให้รู้ด้วยครับ

ส่วนตัวหน้าจอก็แสดงผลสามารถหมุนได้ 4 ทิศทาง โดยที่เรากดปุ่มปรับได้เอง ซึ่งถ้าใครที่ไม่ค่อยชอบรุ่นที่หน้าจอหมุนเองอัตโนมัติน่าจะโอเคกับตัวนี้มากกว่า อยากหมุนตอนไหนค่อยกดเอา ส่วนขนาดนิ้วมือที่ใช้วัดได้อยู่ที่ 8 – 25.4 มิลลิเมตร ก็เรียกว่าได้ทุกขนาดนิ้วของคนปกติ  แบตเตอรี่ก็ใช้ถ่าน AAA 2 ก้อนเหมือนกับรุ่นอื่น ๆ ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์เสริมทั้งสายคล้องคอ และกระเป๋าเก็บอย่างดี เอาเป็นว่าใครที่กลัวตัวเองจะทำหายบ้าง ทำหล่นตกแตกพังบ้าง จับคล้องคอไว้เลยจะได้ปลอดภัยครับ

ขนาด5.7 x 3 x 3.1 cm
น้ำหนัก28 g
ค่าความแม่นยำN/A
ช่วงการวัดค่าออกซิเจนในเลือดN/A
แบตเตอรี่AAA x 2
ค่าอื่น ๆ ที่วัดได้ชีพจร, การไหลเวียนเลือด

10. HIP รุ่น CMS50D

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว HIP รุ่น CMS50 เป็นอีกหนึ่งรุ่นที่น่าสนใจ สามารถวัดได้ทั้งค่าออกซิเจนในเลือด และอัตราการเต้นของหัวใจ รวมถึงค่าการไหลเวียนเลือดด้วย โดยหน้าจอแสดงผลแบบ OLED 2 สี คือน้ำเงินและเหลือง ตัวเลขใหญ่ชัดเจน และมีระบบหมุนหน้าจอเองอัตโนมัติ ซึ่งหมุนได้ทั้ง 4 ทิศทาง จะหันมือไปทางไหนก็หมุนตามได้ทุกทิศครับ

การตั้งค่าต่าง ๆ ก็ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยาก ใช้แบต AAA 2 ก้อน ใช้งานได้ต่อเนื่องถึง 20 – 36 ชั่วโมง ส่วนของเรื่องคุณภาพมาตรฐานก็ไม่ต้องห่วง เพราะผ่านการรับรองทั้งมาตรฐานยุโรป CE และ ISO ดังนั้นก็มั่นใจได้ในความแม่นยำตรงปก ดูราคาแล้วไม่แพง คุณภาพดีเชื่อถือได้แบบนี้จัดว่าคุ้มค่าน่าสอยไว้ติดบ้านมากครับ

ขนาดN/A
น้ำหนักN/A
ค่าความแม่นยำN/A
ช่วงการวัดค่าออกซิเจนในเลือด0 – 100%
แบตเตอรี่AAA x 2
ค่าอื่น ๆ ที่วัดได้ชีพจร

เป็นยังไงกันบ้างครับทุก ๆ ท่าน หลังจากที่ได้เห็นรีวิว “เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว” ยี่ห้อไหนดี กันไปแล้วถึง 10 ยี่ห้อ 10 เครื่องด้วยกัน ไม่ทราบว่าสนใจ อยากจะซื้อยี่ห้อไหน เครื่องไหน ไปใช้วัดค่าออกซิเจนที่บ้าน ไปวัดค่าอัตราการเต้นของหัวใจ รวมถึงชีพจรกันบ้างครับ ?? ก็จากที่เห็น ๆ มาเนี่ย ตัวเครื่องก็มีกันหลากหลายราคาเลยทีเดียว บางยี่ห้อก็แพงสะ เครื่องละหลายพันบาท แต่ก็คุณภาพดี มาตรฐานสูง บางยี่ห้อก็ไม่แพงเลย ราคาร้อยนิด ๆ ซื้อง่ายใช้ง่ายด้วย ยังไงก็ขอให้ได้เครื่องที่ถูกใจ ใช้แล้วชอบ ตอบโจทย์กันด้วยครับ


เราใช้คุกกี้เพื่อนับผู้เข้าชมและพัฒนาเว็บไซต์ อ่านรายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    สำหรับวิเคราะห์สถิติของผู้ชมเว็บไซต์ เพื่อช่วยตัดสินใจ การปรับปรุงบทความ - ข้อมูลแหล่งที่มาของผู้ใช้งาน เช่น. ผู้ใช้เข้าสู่เว็บไซต์ Plus Around จาก Google Search หรือ Social Network - ข้อมูลพฤติกรรม เช่น. ระยะเวลา, เวลา, หน้า landing page และการติดตามกิจกรรมอื่น ๆ - ข้อมูลเนื้อหา เช่น. ผู้ใช้อ่านบทความเครื่องซักผ้าฝาหน้า ยี่ห้อไหนดี - ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เช่น. ผู้ใช้แบ่งปันบทความบนเครือข่ายโซเชียล - ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ Google Analtics สามารถดูในระดับภาพรวม แต่ไม่สามารถเจาะจงเป็นรายบุคคลได้ เช่น. เพศ , อายุ , สถานที่ตั้ง - การทดสอบ A/B test สำหรับการปรับปรุงเว็บไซต์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา

    การโฆษณาตามความสนใจ - แสดงโฆษณาที่สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายของผู้ใช้งาน โดยอ้างอิงตามกิจกรรมของผู้ใช้ บนเว็บไซต์ เพื่อรวบรวมข้อมูลที่ ผู้ใช้งานสนใจ ในเชิงพาณิชย์ - อนุญาตให้ผู้เผยแพร่โฆษณา นำเสนอโฆษณาต่างๆ แก่ผู้ใช้งาน และยังให้ผู้เผยแพร่โฆษณา สามารถประมูลค่าของโฆษณา เพื่อเสนอราคาที่เหมาะสม ก่อนที่จะนำโฆษณาเสนอแก่ผู้ใช้งาน - การกำหนดความถี่สูงสุดในการมองเห็นโฆษณา เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานเห็นโฆษณาเดียวกันหลายครั้งเกินไป - รวบรวมข้อมูลบราวเซอร์และอุปกรณ์: ประเภทและรุ่นของอุปกรณ์, ผู้ผลิต, ประเภทระบบปฏิบัติการ และรุ่น (เช่น iOS หรือ Android) ประเภท และรุ่นของเว็บบราวเซอร์ (เช่น Chrome หรือ Safari), user-agent, ชื่อผู้ให้บริการ, เขตเวลา ประเภทการเชื่อมต่อเครือข่าย (เช่น Wi-Fi หรือ เซลลูลาร์), ที่อยู่ IP, ตำแหน่งทั่วไปที่อนุมานจากที่อยู่ IP หรือ บราวเซอร์ หรือ เว็บแคช)

บันทึกการตั้งค่า