เครื่องวัดความดันโลหิต ยี่ห้อไหนดี รวมมาแล้ว รีวิว 10 ยี่ห้อ

รูปภาพปกบทความ เครื่องวัดความดันโลหิต ยี่ห้อไหนดี รวมมาแล้ว รีวิว 10 ยี่ห้อ

เรื่อง “ความดัน ต้องบอกเลยว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ไม่ควรจะมองข้ามหรือปล่อยผ่าน โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุที่บ้าน หรือแม้กระทั่งวัยทำงานที่โหมงานหนัก ๆ พักผ่อนได้ไม่เต็มที่ เพราะการตรวจเช็คความดันสามารถชี้วัดความผิดปกติของสุขภาพในเบื้องต้นได้ ถ้าหากเรามีความดันต่ำหรือสูงเกินไป ก็อาจจะส่งผลให้เรามีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด อาจถึงขั้นเป็นลมล้มเจ็บ และหากมีความดันผิดปกติแบบนี้บ่อย ๆ แน่นอนละครับเป็นสาเหตุที่อาจทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ดังนั้นเราควรจะต้องตรวจเช็คความดัน อย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อเป็นการรีเช็คสุขภาพเบื้องต้น วันนี้ทางเราได้รวบรวม “เครื่องวัดความดันโลหิต” ยี่ห้อไหนดี 10 ยี่ห้อ สำหรับตรวจเช็คความดันที่บ้านกันได้ง่าย ๆ จะมีรุ่นไหนกันบ้าง มาดูกันครับ



เครื่องวัดความดันมีกี่ประเภท เหมาะกับใครกันบ้าง ??

หัวข้อเสริม

โดยหลักๆ แล้ว เราสามารถแบ่งเครื่องวัดความดันออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

(1.) เครื่องวัดความดันชนิดปรอท (Mercury sphygmonometer) มีแท่งแก้วที่มีสารปรอทอยู่ภายใน ใช้วัดค่าได้ค่อนข้างแม่นยำ แต่ตัวเครื่องค่อนข้างหนักและมีขนาดใหญ่ ใช้ควบคู่กับหูฟัง และต้องใช้คนที่มีทักษะหรือความชำนาญด้านนี้เป็นพิเศษ นิยมใช้กันในคลินิก หรือโรงพยาบาล


(2.) เครื่องวัดความดันชนิดขดลวด (Aneroid equipment) มาพร้อมกับลูกยางสำหรับบีบลม น้ำหนักเบา พกพาง่าย การดูแลรักษาจะต้องคอยปรับค่าโดยการเทียบกับเครื่องมือชนิดปรอทอย่างน้อยปีละครั้ง ใช้ควบคู่กับหูฟัง เหมาะกับคนที่มีทักษะหรือมีความชำนาญเบื้องต้นครับ


(3.) เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล (Automatic equipment) มีตัวเลขแสดงผลที่หน้าจอ น้ำหนักเบา พกพาง่าย มีทั้งแบบแขนสอดและแบบใช้ผ้ารัดต้นแขน หากจะเลือกซื้อควรเลือกยี่ห้อที่มีความน่าเชื่อถือ ไม่อย่างนั้นค่าที่ได้มาอาจจะไม่ค่อยแม่นยำ ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน เหมาะที่จะมีติดบ้านไว้ครับ


วิธีการเลือกซื้อเครื่องวัดความดันแบบง่ายๆ

(1.) เลือกเครื่องวัดความดันที่ได้มาตรฐาน วิธีแรกง่าย ๆ เลย ให้สังเกตได้จากสัญลักษณ์ มอก. เพราะเป็นสัญลักษณ์ที่ได้การรับรองจากมาตรฐานของประเทศไทย แต่หากไม่มีก็สามารถสังเกตได้อีก 2 สัญลักษณ์ คือ UL (Underwriters’ Laboratories) เป็นสัญลักษณ์ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานความปลอดภัยของอเมริกา และ CE (European Conformity) เป็นสัญลักษณ์ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานความปลอดภัยของยุโรปครับ


(2.) เลือกประเภทการใช้งานของแบตเตอรี่ มีอยู่ 2 ประเภท คือ ประเภทใช้ไฟฟ้า แค่เสียบปลั๊กก็สามารถใช้งานได้เลย เหมาะกับการใช้งานที่บ้าน และประเภทใช้ถ่าน เหมาะสำหรับคนที่ต้องใช้งานเมื่อต้องเดินทาง หรือจำเป็นต้องพกพาเครื่องไปด้วยทุกที่ เครื่องประเภทนี้แนะนำให้เลือกใช้ถ่านอัลคาไลน์ เพราะจะช่วยให้ใช้งานได้ยาวนาน และมีประสิทธิภาพมากกว่า ในปัจจุบันก็มีเครื่องวัดความดันที่สามารถใช้ได้ทั้ง 2 ระบบ แต่ราคาก็จะค่อนข้างสูงกว่าครับ

IMG 2532


(3.) เลือกจากฟังก์ชันต่าง ๆ เช่น ระบบตรวจจับการพันผ้าและวางตําแหน่งแขน, ระบบบันทึกข้อมูลและผลตรวจ, ระบบบันทึกแยกข้อมูลของแต่ละคน ซึ่งฟังก์ชันพวกนี้นอกจากจะช่วยคํานวณผลได้แม่นยําได้มากขึ้นแล้วนั้น ก็ช่วยให้เราติดตามผลของผู้ใช้ได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงคอยสังเกตและตรวจจับอาการเบื้องต้นต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นครับ


(4.) เชื่อมต่อกับ Smartphone เพื่อวิเคราะห์ผลตรวจ เพื่อวิเคราะห์ผลตรวจ การเชื่อมต่อนี้จะช่วยให้เราสามารถจัดการข้อมูลและรายละเอียดผลตรวจได้ง่ายขึ้น โดยทําเป็นกราฟเพื่อแสดงผลของค่าความดันตั้งแต่เริ่มตรวจจนถึงปัจจุบัน และยังสามารถแชร์ค่าความดันให้กับคนรอบข้าง หรือแพทย์ประจําตัวได้ง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการส่งผ่านระบบ บลูธูท, NFC รวมถึง USB ก็ทําได้ง่ายๆ ครับ


ตารางเปรียบเทียบรีวิว “เครื่องวัดความดันโลหิต” ยี่ห้อไหนดี

ตารางเปรียบเทียบรีวิว "เครื่องวัดความดันโลหิต"

หากไม่มีเวลาที่จะอ่านบทความละก็ แนะนำว่าลองคลิกที่ปุ่มสีแดงด้านล่างนี้เลย ทางเราได้ทำตารางเปรียบเทียบสินค้า “เครื่องวัดความดันโลหิต” ไว้ให้แล้วทั้งราคา ตำแหน่งการวัดความดัน ขนาดรอบวงแขน แบตเตอรี่ การบันทึกค่า แถบบอกระดับความดัน การแจ้งเตือนการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ แบบสั้นๆ เข้าใจง่ายครับ



1. ALLWELL BLOOD PRESSURE MONITOR BSX593

แทบไม่เชื่อสายตาเมื่อได้เห็นว่ายอดขายออนไลน์ของ ALLWELL BLOOD PRESSURE MONITOR BSX593 สูงเกือบ 10,000 ชิ้น นั่นทำให้ได้รู้ว่าในปัจจุบันคนให้ความสำคัญกับสุขภาพกันมาก ๆ บวกกับมีอุปกรณ์ดี ๆ ที่ทันสมัยแบบนี้ก็ยิ่งสะดวกมากเลย เป็นระบบเสียงภาษาไทยจึงใช้งานได้ง่ายด้วย แล้วหน้าจอยังเปลี่ยนสีตามความดันโลหิตที่วัดได้อีก โดยหากความดันเป็นปกติจะเป็นสีเขียว, ค่อนข้างสูงจะเป็นสีเหลือง แต่ถ้าเมื่อไรเป็นสีแดงต้องระวังเพราะความดันโลหิตสูงแล้วครับ

และสำหรับใครที่ต้องคอยเช็คอยู่เป็นประจำก็มีฟังก์ชันตั้งปลุกเพื่อเตือนให้วัดความดันโลหิต เสมือนมีพยาบาลประจำตัวคอยดูแลสุขภาพอย่างไรอย่างนั้นเลยทีเดียว ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าทำได้แค่เพียงอย่างเดียวด้วยนะ เพราะในการวัด 1 ครั้ง หน้าจอแสดงผลจะแสดงทั้งค่าความดันซิสโตลิก แรงดันเลือดขณะหัวใจบีบตัว, ไดแอสโตลิก แรงดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว พร้อมแสดงอัตราการเต้นของหัวใจ และสัญลักษณ์ที่จะแสดงหากหัวใจเต้นผิดปกติ แต่ก็ไม่รู้ว่าหากเจอสาวที่ทำให้ใจเต้นไม่เป็นจังหวะสัญลักษณ์จะเตือนขึ้นมาหรือเปล่านะครับ ^^

ตำแหน่งวัดต้นแขน
ขนาดรอบวงแขน22 – 32 cm
แบตเตอรี่AA x 4 / USB
การบันทึกค่า99 ครั้ง x 2 คน
แจ้งการพันผ้าถูกต้อง
แถบบอกระดับความดันตามมาตรฐาน WHO
แจ้งการเต้นของหัวใจผิดปกติ
เชื่อมต่อสมาร์ทโฟน

2. Lifebox L-BM01

เป็นอีก 1 เครื่องวัดความดันโลหิตยอดนิยม แม้ยอดจำหน่ายจะไม่ได้ถล่มทลายเหมือนยี่ห้อก่อนหน้า แต่ก็ได้รับความสนใจมากจนสินค้าหมดอยู่บ่อย ๆ เรากำลังพูดถึง L-BM01 จากแบรนด์ Lifebox รุ่นนี้เป็นเครื่องวัดความดันที่ต้นแขน ต้องใช้ผ้าพันที่มากับตัวเครื่อง แต่ไม่ต้องมานั่งบีบด้วยมือเหมือนสมัยก่อนหรอกนะ รุ่นนี้เป็นแบบอัตโนมัติแล้ว ใช้งานสะดวกสบาย บนหน้าจอแสดงผลจะแสดงค่าความดันซิสโตลิก แรงดันเลือดขณะหัวใจบีบตัว, ไดแอสโตลิก แรงดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว และอัตราการเต้นของหัวใจครับ

หากหัวใจมีการเต้นผิดจังหวะก็จะมีสัญลักษณ์แสดงขึ้นมาด้วย เป็นการส่งสัญญาณให้ได้รู้ว่าร่างกายของเราเกิดความไม่ปกติและต้องได้รับการดูแลหรือรักษา ส่วนสัญลักษณ์ที่บ่งชี้ผลของค่าความดันโลหิตจะเป็นแถบสีอยู่ที่ด้านข้าง หากอยู่ที่สีน้ำเงินก็ไม่น่าเป็นห่วง เพราะเป็นช่วงความดันที่เหมาะสม, สีเขียวยังปกติอยู่แต่ควรระมัดระวังเพราะอีกนิดก็จะเริ่มสูงนิดหนึ่งแล้ว, สีเหลืองสูงเล็กน้อย, สีส้มสูงปานกลาง แต่หากสีแดงเมื่อไรควรไปพบแพทย์ด่วน ๆ เพราะค่าความดันโลหิตสูงมาก อันตรายครับ

ตำแหน่งวัดต้นแขน
ขนาดรอบวงแขน23 – 33 cm
แบตเตอรี่AA x 4 / USB
การบันทึกค่า60 ครั้ง x 2 คน
แจ้งการพันผ้าถูกต้อง
แถบบอกระดับความดันตามมาตรฐาน WHO
แจ้งการเต้นของหัวใจผิดปกติ
เชื่อมต่อสมาร์ทโฟน

3. Cofoe Electronic Blood Pressure Monitor KF-65B

หากใครมีสมาชิกในครอบครัวที่ต้องวัดความดันโลหิตทุกวัน วันละหลาย ๆ หน ไม่ได้หมายความว่าจะต้องอดใช้ชีวิตเพราะต้องอยู่บ้านคอยวัดความดันกันหรอกนะ เพราะในปัจจุบันมีเครื่องที่แค่ใส่ถ่าน AAA เพียง 4 ก้อน ก็สามารถใช้งานได้แล้ว เหมือนอย่าง Cofoe Electronic Blood Pressure Monitor KF-65B ที่นอกจากจะใช้แบบใส่ถ่านได้ก็ยังสามารถต่อสาย USB เสียบกับไฟบ้านได้ด้วย วิธีการใช้ก็แสนง่ายไม่มีอะไรยุ่งยาก เพียงต่อ Air Tube ของผ้าพันต้นแขนเข้ากับตัวเครื่องแล้วก็ดำเนินการตามวิธีปกติได้เลยครับ

ที่หน้าจอ LCD ขนาดใหญ่ 115 x 135 x 83 มิลลิเมตรนี้ จะแสดงค่าความดันซิสโตลิก แรงดันเลือดขณะหัวใจบีบตัว, ไดแอสโตลิก แรงดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว และอัตราการเต้นของหัวใจ โดยไฟพื้นหลังจะเปลี่ยนสีไปตามค่าความดันที่วัดได้ หากปกติจะเป็นสีเขียว, สูงเล็กน้อยจะเป็นสีส้ม และถ้าความดันสูงจะเป็นสีแดง จริง ๆ การดูผลทางหน้าจอก็สะดวกแล้ว แต่เขาก็ยังมีฟังก์ชันบอกค่าต่าง ๆ ออกมาเป็นเสียงให้ด้วย แม้จะยังไม่รองรับภาษาไทยต้องใช้ภาษาอังกฤษก็ยังฟังง่าย ได้ฝึกภาษาไปในตัว แต่ถ้าอากง-อาม่าถนัดภาษาจีนมากกว่าก็มีให้เลือกใช้ได้ด้วยครับ

ตำแหน่งวัดต้นแขน
ขนาดรอบวงแขน22 – 32 cm
แบตเตอรี่AAA x 4 / USB
การบันทึกค่า192 ครั้ง x 2 คน
แจ้งการพันผ้าถูกต้อง
แถบบอกระดับความดันตามมาตรฐาน WHO
แจ้งการเต้นของหัวใจผิดปกติ
เชื่อมต่อสมาร์ทโฟน


4. beurer BC28 Wrist Blood Pressure Monitor

เครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ ไม่ต้องบีบด้วยมือให้เมื่อยก็ว่าสะดวกแล้ว แต่มาเจอ BC28 Wrist Blood Pressure Monitor จากแบรนด์อุปกรณ์เพื่อสุขภาพส่งตรงจากประเทศเยอรมนี อย่าง beurer เข้าไป ต้องยอมรับ ณ จุด ๆ นี้เลยว่าสะดวกแบบสุด ๆ เพราะมาในรูปแบบสายรัดข้อมือที่มีตัวเครื่องแปะอยู่บนสาย คล้ายนาฬิกาเรือนยักษ์ ใส่ปุ๊บวัดค่าได้ปั๊บ ไม่ต้องมานั่งประกอบชิ้นส่วนเสียบ Air Tube เข้ากับตัวเครื่อง หรือคอยพับเก็บสายของผ้าพันต้นแขนให้เสียเวลาเลยครับ

ไม่ต้องเสียบปลั๊ก ไม่ต้องชาร์จแบตเตอรี่ มีแค่ถ่าน AAA เพียงแค่ 2 ก้อน เป็นอันจบ เช็คได้ครบทั้ง SYS (ซิสโตลิก แรงดันเลือดขณะหัวใจบีบตัว), DIA (ไดแอสโตลิก แรงดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว) และอัตราการเต้นของหัวใจเลย มีแถบสีแสดงระดับความดันที่วัดได้ตาม WHO คือสีเขียว > สีเหลือง > สีส้ม > สีแดง แทนค่าได้ว่า ปกติ > สูงเล็กน้อย > สูงปานกลาง > สูงมาก แม้กระทั่งการตรวจจับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ยังสามารถทำได้ ถึงจะตัวเล็กกว่าใครเพื่อนก็ไม่ใช่ปัญหาของเจ้าเครื่องนี้เลยล่ะครับ

ตำแหน่งวัดข้อมือ
ขนาดรอบวงแขน14 – 19.5 cm
แบตเตอรี่AAA x 2
การบันทึกค่า60 ครั้ง x 2 คน
แจ้งการพันผ้าถูกต้อง
แถบบอกระดับความดันตามมาตรฐาน WHO
แจ้งการเต้นของหัวใจผิดปกติ
เชื่อมต่อสมาร์ทโฟน

5. JZiKi Blood Pressure Mercury Monitor ZK-B869

เห็นเป็นแบรนด์จีนชื่อไม่คุ้นหูแบบนี้อย่าเพิ่งยี้เป็นอันขาดเลยนะ เพราะเอาจริง ๆ แบรนด์นอกหลาย ๆ แบรนด์ ฐานการผลิตก็อยู่ที่แผ่นดินใหญ่นี่ล่ะ แล้วจะต่างกันตรงไหนหากจะลองเปิดใจให้ผลิตภัณฑ์สัญชาติจีนแท้ ๆ อย่าง JZiKi Blood Pressure Mercury Monitor ZK-B869 ที่นอกจากราคาจะเบากว่าใครเขาแล้ว ยังได้รับ ISO 9001 Quality Management System ระบบบริหารคุณภาพมาตรฐานสากล, ISO 13485 กับ CE0197 การตรวจรับรองมาตรฐานสำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ และยังผ่านการควบคุมปริมาณวัสดุอันตรายในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของ RoHS อีกด้วยครับ

ฟังก์ชันต่าง ๆ ก็ไม่ได้มีที่ด้อยไปกว่ายี่ห้ออื่น ๆ เลยนะ ไม่ว่าจะเป็นความสะดวกในการใช้งานก็เป็นระบบอัตโนมัติเหมือนกัน พกพาได้ ใช้สาย USB หรือจะใส่ถ่าน AAA เข้าไป 4 ก้อน ก็ใช้งานได้เช่นกัน หน้าจอ LCD แสดงผลเป็นดิจิตอลดูง่าย มีให้เลือกทั้งรุ่นที่ส่งเสียงอ่านค่าความดันได้ และรุ่นที่ไม่มีเสียง สามารถวัดค่าต่าง ๆ ได้ครบตามมาตรฐานของเครื่องวัดความดันโลหิต คือ ค่าความดันซิสโตลิก, ไดแอสโตลิก, อัตราการเต้นของหัวใจ และมีแถบสีแสดงระดับความดันที่วัดได้ตาม WHO สีเขียว, สีเหลือง และสีแดงครับ

ตำแหน่งวัดต้นแขน
ขนาดรอบวงแขน22 – 32 cm
แบตเตอรี่AAA x 4 / USB
การบันทึกค่า99 ครั้ง x 2 คน
แจ้งการพันผ้าถูกต้อง
แถบบอกระดับความดันตามมาตรฐาน WHO
แจ้งการเต้นของหัวใจผิดปกติ
เชื่อมต่อสมาร์ทโฟน

6. TANITA BP-222

วัดความดันโลหิตง่าย ๆ ใคร ๆ ก็ใช้ได้ แค่กดปุ่มเดียวแล้วรออ่านค่าได้เลย เครื่องวัด TANITA BP-222 ตัวนี้คุณภาพการันตีจากประเทศญี่ปุ่น ออกแบบมาให้ใช้งานง่าย ผู้สูงอายุก็ใช้ได้ ไม่ต้องทำความเข้าใจเยอะ มีคู่มืออธิบายรายละเอียดชัดเจน ทั้งความรู้เรื่องความดันโลหิตและการใช้อุปกรณ์อย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้ค่าที่แม่นยำที่สุด ตัวเครื่องใช้แบตเตอรี่ขนาด AA 4 ก้อน ส่วนการวัดนั้นวัดที่บริเวณต้นแขนเหนือข้อศอก ซึ่งมีผ้าพันแขนขนาดวงรอบ 22 – 33 เซนติเมตร เพียงพันแขนให้พอดีแล้วกดปุ่ม Start เท่านั้นครับ

เครื่องจะทำการแสดงผลแบบดิจิตอล ค่าความดันโลหิตตัวบนและตัวล่าง พร้อมกับการเต้นของหัวใจ และบันทึกค่าให้อัตโนมัติ โดยสามารถบันทึกได้ 60 ครั้ง และสามารถนำค่าที่ได้บันทึกลงในแอปพลิเคชัน TANITA Health Planet ด้วยตัวเอง เพื่อเก็บเป็นข้อมูลสุขภาพได้ด้วย นอกจากนี้ยังแสดงสัญลักษณ์การเต้นของหัวใจผิดปกติ ซึ่งต้องบอกก่อนว่าไม่ใช่ตัวชี้วัดว่าหัวใจเต้นผิดปกติจริงหรือไม่ หากเห็นสัญลักษณ์ขึ้นก็อย่าเพิ่งตกใจ ให้ลองวัดผลใหม่ หากยังขึ้นอยู่ แนะนำให้ไปตรวจเช็คที่โรงพยาบาลอย่างละเอียดจึงจะได้ผลที่ชัดเจนที่สุดครับ

ตำแหน่งวัดต้นแขน
ขนาดรอบวงแขน22 – 33 cm
แบตเตอรี่AA x 4
การบันทึกค่า60 ครั้ง
แจ้งการพันผ้าถูกต้อง
แถบบอกระดับความดันตามมาตรฐาน WHO
แจ้งการเต้นของหัวใจผิดปกติ
เชื่อมต่อสมาร์ทโฟน


7. OMRON เครื่องวัดความดันโลหิตที่ข้อมือรุ่น HEM-6232T

แบรนด์นี้เชื่อว่ารู้จักกันเป็นอย่างดีสำหรับอุปกรณ์การแพทย์ต่าง ๆ ที่ได้รับความไว้วางใจทั่วโลก OMRON จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งตัวนี้เป็นเครื่องวัดความดันโลหิตที่ข้อมือรุ่น HEM-6232T ตัวเครื่องขนาดกะทัดรัดใช้งานสะดวก ใช้ที่รัดแบบ Intelliwrap ที่สามารถวัดค่าได้ทุกมุม 360 องศา ไม่ต้องกังวลเรื่องพันผ้าผิดตำแหน่งแล้วทำให้ได้ค่าคลาดเคลื่อนอีกต่อไป และยังมีเทคโนโลยี  IntelliSense™ ช่วยให้ที่รัดพองตัวอย่างเหมาะสมสำหรับการใช้งานแต่ละครั้ง ทำให้ได้ผลที่รวดเร็วถูกต้องและสะดวกยิ่งขึ้นครับ

นอกจากนี้ยังบันทึกค่าได้มากถึง 100 ครั้ง สามารถเชื่อมต่อบลูทูธกับสมาร์ทโฟน บันทึกและจัดการข้อมูลในแอปพลิเคชัน OMRON Connect ได้อีก ยังไม่หมดเท่านี้ สามารถดึงข้อมูลออกมาเป็นไฟล์ .csv เพื่อส่งให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ด้วย ตัวเครื่องยังมีสัญลักษณ์แจ้งการพันผ้า หากพันได้ถูกต้องแล้วจะขึ้นว่า OK รวมทั้งแจ้งเตือนเมื่อวัดแล้วความดันสูงเกินค่ามาตรฐาน และแจ้งเตือนเมื่อพบการเต้นของหัวใจผิดปกติ เรียกว่าจัดมาครบ ๆ ทุกฟังก์ชันที่จำเป็นเลยทีเดียว มีติดบ้านไว้สักเครื่อง คอยวัดความดันให้คนที่คุณรัก เชื่อว่าคุ้มค่าแน่นอนครับ

ตำแหน่งวัดข้อมือ
ขนาดรอบวงแขนN/A
แบตเตอรี่N/A
การบันทึกค่า100 ครั้ง
แจ้งการพันผ้าถูกต้อง
แถบบอกระดับความดันตามมาตรฐาน WHO
แจ้งการเต้นของหัวใจผิดปกติ
เชื่อมต่อสมาร์ทโฟน

8. JP SMART RAK266

ใช้งานก็ง่าย ราคาก็สุดแสนจะเป็นมิตร สำหรับเครื่องวัดความดันโลหิตยี่ห้อ JP Smart รุ่น RAK266 ตัวนี้พูดไทยได้ด้วยนะ วัดค่าแล้วนอกจากแสดงผลหน้าจอ ยังบอกผลด้วยเสียงอีกต่างหาก หรือหากจะตั้งปิดเสียงไว้ก็ทำได้ การวัดใช้ตำแหน่งวัดที่ต้นแขน ขนาดผ้าพันแขนได้ตั้งแต่ 22 ถึง 42 เซนติเมตร แขนใหญ่หน่อยก็วัดได้ไหวอยู่นะจ๊ะ หน้าจอ LCD ขนาดใหญ่เห็นชัด ไม่ต้องหรี่ตาดู แสดงค่าความดันโลหิตซิสโตลิค ไดแอสโตลิค และค่าชีพจร ตัวเครื่องใช้ได้ทั้งใส่ถ่านและเสียบไฟบ้าน สะดวกแบบไหนก็ใช้ได้เลยครับ

หน้าเครื่องมีแถบ WHO Indicator บอกช่วงความดันว่าค่าที่ได้อยู่ในระดับปกติหรือไม่ หากสูงเกินไปก็สามารถรู้ได้ทันที ตัวเครื่องสามารถบันทึกค่าความดันได้ 99 ครั้ง และบันทึกได้สำหรับ 2 คนเลย บ้านไหนมีผู้สูงอายุที่ต้องวัดเป็นประจำ ก็เก็บข้อมูลไว้ได้สะดวก และยังแจ้งเตือนการเต้นของหัวใจผิดปกติได้ด้วย นอกจากนี้ยังช่วยเซฟพลังงาน ด้วยการปิดเครื่องอัตโนมัติเมื่อไม่ใช้งานเกิน 1 นาทีให้อีก เห็นราคาเบา ๆ แต่คุณสมบัติไม่เบาเลยทีเดียว ยอดขายค่อนข้างดี รีวิวก็โอเคเพราะสินค้าได้มาตรฐาน เป็นตัวเลือกที่แนะนำเลยครับ

ตำแหน่งวัดต้นแขน
ขนาดรอบวงแขน22 – 42 cm
แบตเตอรี่ถ่านไฟฉาย / เสียบไฟบ้าน
การบันทึกค่า99 ครั้ง x 2 คน
แจ้งการพันผ้าถูกต้อง
แถบบอกระดับความดันตามมาตรฐาน WHO
แจ้งการเต้นของหัวใจผิดปกติ
เชื่อมต่อสมาร์ทโฟน

9. เครื่องวัดความดันอัตโนมัติ พูดได้ yuwell รุ่น YE670D

แบรนด์คุณภาพจากประเทศจีนที่รับรองได้ในมาตรฐาน yuwell รุ่น YE670D จะใช้วัดเองที่บ้านก็สะดวก ใช้งานที่โรงพยาบาลก็ได้ประสิทธิภาพเหมือนกัน โดยเลือกหน่วยการวัดได้ทั้งแบบมิลลิเมตรปรอทและกิโลปาสคาล ช่วงการวัดความดันตัวบนหรือซิสโตลิคคือ 60 – 230 มิลลิเมตรปรอท ค่าความดันตัวล่างหรือไดแอสโตลิคคือ 40 – 130 มิลลิเมตรปรอท มีแถบบอกระดับความดันว่าค่าที่ได้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ ขนาดผ้าพันแขนอยู่ที่ 22 – 45 เซนติเมตร หน้าจอแสดงผลเด่นชัด ตัวเลขขนาดใหญ่ ดูง่าย แสดงทั้งค่าความดันตัวบน ตัวล่าง และอัตราการเต้นของหัวใจ หรือจะใช้โหมดพูดบอกค่าเป็นภาษาไทยก็ทำได้ครับ

ส่วนการใช้งานอื่น ๆ ก็มีการแจ้งเตือนสัญลักษณ์ ทั้งการพันผ้าว่าโอเคหรือไม่ เตือนการเคลื่อนไหวขณะวัดความดัน เพื่อไม่ให้ผู้ใช้ขยับตัวมากเกินไป ไม่งั้นค่าที่ได้อาจไม่แม่นยำ เตือนแบตเตอรี่หมด และขึ้นเตือนหากพบการเต้นของหัวใจผิดปกติ รวมทั้งสามารถบันทึกค่าอัตโนมัติทั้งหมด 60 ครั้ง และเมื่อไม่ใช้งานเกิน 30 วินาที เครื่องจะปิดอัตโนมัติเพื่อช่วยประหยัดพลังงานให้ด้วย ไม่ต้องกลัวเปลืองแบตเปลืองไฟ โดยใช้งานได้ทั้งแบบใส่ถ่าน และแบบเสียบปลั๊กปกติครับ

ตำแหน่งวัดต้นแขน
ขนาดรอบวงแขน22 – 45 cm
แบตเตอรี่AA x 4 / เสียบไฟบ้าน
การบันทึกค่า60 ครั้ง
แจ้งการพันผ้าถูกต้อง
แถบบอกระดับความดันตามมาตรฐาน WHO
แจ้งการเต้นของหัวใจผิดปกติ
เชื่อมต่อสมาร์ทโฟน

10. GLOWY เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติแบบรัดแขน รุ่น BP-001

ได้ยินชื่อ Glowy Star หลายคนนึกถึงอุปกรณ์สำหรับเจ้าตัวเล็กทั้งหลาย คาร์ซีทเอย รถเข็นเด็กเอย เตียงเด็กเอย ซึ่งนอกจากของใช้เด็กเล็กคุณภาพสูงแล้ว เขายังผลิตเครื่องมือทางการแพทย์เกรดคุณภาพเช่นกัน อย่างเครื่องวัดความดันโลหิตรุ่น BP-001 ตัวนี้ ใช้งานง่าย มีเสียงแนะนำการใช้งานเป็นภาษาไทย ผ้าพันแขนขนาดรอบวง 22 – 36 เซนติเมตร จอ LCD แสดงผลค่าความดันโลหิตตัวบนและตัวล่าง อัตราการเต้นของหัวใจ และมีการแปลผลค่าความดันตามมาตรฐาน WHO ด้วยครับ

ซึ่งช่วงการวัดค่าความดันตัวบนคือ 60 – 280 มิลลิเมตรปรอท ค่าความดันตัวล่างคือ 30 – 200 มิลลิเมตรปรอท และช่วงการวัดชีพจรอยู่ที่ 30 – 180 ครั้งต่อนาที ส่วนของการบันทึกค่านั้น บันทึกอัตโนมัติได้ 60 ครั้ง โดยใส่ข้อมูลผู้ใช้งานได้ 2 คน มีไฟแสดงสัญลักษณ์แบตเตอรี่ มีการแจ้งเตือนหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งการใช้งานอุปกรณ์ก็ทำได้ทั้งแบบใส่ถ่าน AA 4 ก้อน หรือเสียบไฟบ้านก็ได้ โดยรวมก็เรียกว่าฟังก์ชันครบตามมาตรฐาน คุณภาพไว้ใจได้อยู่แล้ว มีติดบ้านไว้เพื่อดูแลสุขภาพคนใกล้ชิดก็อุ่นใจดีครับ

ตำแหน่งวัดต้นแขน
ขนาดรอบวงแขน22 – 36 cm
แบตเตอรี่AA x 4 / เสียบไฟบ้าน
การบันทึกค่า60 ครั้ง x 2 คน
แจ้งการพันผ้าถูกต้อง
แถบบอกระดับความดันตามมาตรฐาน WHO
แจ้งการเต้นของหัวใจผิดปกติ
เชื่อมต่อสมาร์ทโฟน

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับรีวิว “เครื่องวัดความดันโลหิต” ยี่ห้อไหนดี ที่เรารวบรวมมาให้ถึง 10 ยี่ห้อ เชื่อว่าหลาย ๆ บ้าน คงมีรุ่นหรือยี่ห้อที่ชอบกันแล้วใช่มั้ยครับ หากตัดสินใจแล้ว ก็กดลิงค์เข้าไปซื้อกันได้เลยน้าาา การวัดความดันโลหิต ในช่วงเช้า 2 ให้วัดหลังตื่นนอนและปัสสาวะแล้วภายใน 1 ชั่วโมง 2 ครั้งโดยห่างกันครั้งละ 1 นาที ส่วน ก่อนนอน วัดความดัน 2 ครั้งติดกันโดยห่างกันครั้งละ 1 นาที เวลาวัดควรนั่งเก้าอี้ให้หลังตรง และพิงพนัก โดยมีเท้าวางราบกับพื้น ไม่ไขว่ห้าง พร้อมกับวางแขนให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ ไม่กำมือ พูดคุย หรือขยับตัวด้วยครับ


เราใช้คุกกี้เพื่อนับผู้เข้าชมและพัฒนาเว็บไซต์ อ่านรายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    สำหรับวิเคราะห์สถิติของผู้ชมเว็บไซต์ เพื่อช่วยตัดสินใจ การปรับปรุงบทความ - ข้อมูลแหล่งที่มาของผู้ใช้งาน เช่น. ผู้ใช้เข้าสู่เว็บไซต์ Plus Around จาก Google Search หรือ Social Network - ข้อมูลพฤติกรรม เช่น. ระยะเวลา, เวลา, หน้า landing page และการติดตามกิจกรรมอื่น ๆ - ข้อมูลเนื้อหา เช่น. ผู้ใช้อ่านบทความเครื่องซักผ้าฝาหน้า ยี่ห้อไหนดี - ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เช่น. ผู้ใช้แบ่งปันบทความบนเครือข่ายโซเชียล - ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ Google Analtics สามารถดูในระดับภาพรวม แต่ไม่สามารถเจาะจงเป็นรายบุคคลได้ เช่น. เพศ , อายุ , สถานที่ตั้ง - การทดสอบ A/B test สำหรับการปรับปรุงเว็บไซต์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา

    การโฆษณาตามความสนใจ - แสดงโฆษณาที่สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายของผู้ใช้งาน โดยอ้างอิงตามกิจกรรมของผู้ใช้ บนเว็บไซต์ เพื่อรวบรวมข้อมูลที่ ผู้ใช้งานสนใจ ในเชิงพาณิชย์ - อนุญาตให้ผู้เผยแพร่โฆษณา นำเสนอโฆษณาต่างๆ แก่ผู้ใช้งาน และยังให้ผู้เผยแพร่โฆษณา สามารถประมูลค่าของโฆษณา เพื่อเสนอราคาที่เหมาะสม ก่อนที่จะนำโฆษณาเสนอแก่ผู้ใช้งาน - การกำหนดความถี่สูงสุดในการมองเห็นโฆษณา เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานเห็นโฆษณาเดียวกันหลายครั้งเกินไป - รวบรวมข้อมูลบราวเซอร์และอุปกรณ์: ประเภทและรุ่นของอุปกรณ์, ผู้ผลิต, ประเภทระบบปฏิบัติการ และรุ่น (เช่น iOS หรือ Android) ประเภท และรุ่นของเว็บบราวเซอร์ (เช่น Chrome หรือ Safari), user-agent, ชื่อผู้ให้บริการ, เขตเวลา ประเภทการเชื่อมต่อเครือข่าย (เช่น Wi-Fi หรือ เซลลูลาร์), ที่อยู่ IP, ตำแหน่งทั่วไปที่อนุมานจากที่อยู่ IP หรือ บราวเซอร์ หรือ เว็บแคช)

บันทึกการตั้งค่า